ตับเปรียบเสมือนแบตเตอรี่สะสมพลังงานให้แก่ร่างกาย ดังนั้นเมื่อรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงมากเกินไป และร่างกายไม่ได้นำไปใช้ ทำให้เกิดการสะสมไขมันขึ้นที่ตับ และอาจส่งผลให้เกิดโรคไขมันพอกตับได้
- สาเหตุของโรคไขมันพอกตับ สามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุหลัก ได้แก่
1. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Alcoholic Fatty Liver Disease) โดยความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์
2. ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Non-Alcoholic Fatty Liver Disease) แต่เกิดจากร่างกายเกิดความบกพร่อง หรือไม่สามารถนำพลังงานที่ได้รับมาไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน เป็นต้น
- การดำเนินโรคไขมันพอกตับจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป สะสมไปเรื่อย ๆ เริ่มจาก
ระยะแรก : เป็นระยะที่เกิดไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ แต่ยังไม่เกิดการอักเสบ
ระยะที่ 2 : เป็นระยะที่ตับเริ่มมีการอักเสบ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา อาการของโรคจะดำเนินไปจนเกิดการอักเสบรุนแรง และเซลล์ตับถูกทำลาย
ระยะที่ 3 : ตับเกิดการอักเสบรุนแรง เซลล์ตับถูกทำลาย และก่อให้เกิดพังผืด
ระยะที่ 4 : ในระยะนี้เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้เป็นปกติ เกิดภาวะตับแข็งและอาจกลายเป็นมะเร็งตับได้
- กลุ่มเสี่ยงของการเกิดไขมันพอกตับ
- มีดัชนีมวลกาย (BMI) เกินมาตรฐาน
- มีผลตรวจภาวะตับผิดปกติ หรืออัลตราซาวน์ตับผิดปกติ
- มีภาวะอ้วนลงพุง เส้นรอบเอวสูง ระดับน้ำตาลสูง
- ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับไขมัน
- ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ