ภูมิแพ้อาหารแฝง เกิดขึ้นได้อย่างไร?

 

ภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance)

การแพ้อาหารแฝง" ร่างกายจะสร้างแอนติบอดีชนิด IgG ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับอาหารที่แพ้ แต่ไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติในช่วงแรก ปัญหาอยู่ที่บางครั้ง แอนติบอดี IgG ที่ร่างกายสร้างขึ้นมานั้นกลับมาทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายเราเอง เนื่องจากเข้าใจผิดว่าเนื้อเยื่อนั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม เหตุการณ์นี้จะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป และตราบที่เรายังบริโภคอาหารที่ร่างกายต่อต้านอยู่ ปริมาณ IgG ก็จะถูกสร้างขึ้นมาตลอดเวลา เนื้อเยื่อจะถูกทำลายมากขึ้น การทำงานของอวัยวะนั้นจะเริ่มเสียหาย และปรากฎอาการของโรคขึ้น โดยที่เราไม่ทราบว่าโรคนั้นเกิดจากสาเหตุใด

โรคที่เกิดจากการทำลายของภูมิต้านทานของตัวเองจึงเป็นโรคลึกลับที่แพทย์ทั้งหลายมักจะบอกว่า ไม่ทราบสาเหตุ และไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่ภายหลังเราพบว่าโรคกลุ่มนี้มีความเกี่ยวพันกับการแพ้อาหารอย่างลึกซึ้ง จากการศึกษาและติดตามผลการรักษาพบว่าผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง มีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหยุดอาหารที่ร่างกายต่อต้านไประยะหนึ่ง

 

ภูมิแพ้อาหารแฝงเกิดขึ้นได้อย่างไร?

  • การรับประทานอาหารชนิดเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันทำให้เกิดอาการแพ้อาหารแฝงได้
  • ระบบย่อยอาหารและการดูดซึมไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเยื่อบุผนังลำไส้ไม่แข็งแรง ทำให้การดูดซึมอาหารผ่านผนังลำไส้มากผิดปกติ (Intestinal Hyperpermeability or Leaky Gut) ส่งผลให้อาหารที่ยังย่อยไม่หมดโดยเฉพาะโปรตีนที่ถูกย่อยไม่สมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่ถูกดูดซึมเข้าไป ทำให้เป็นสารแปลกปลอมที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันทำให้เกิดการแพ้ได้
  • ภาวะเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ โดยปกติในลำไส้จะมีจุลินทรีย์อยู่ 3 กลุ่มคือ แบคทีเรียที่มีประโยชน์ แบคทีเรียก่อโรค และ ยีสต์ เมื่อแบคทีเรียที่มีประโยชน์ลดลง เช่น ทานยาฆ่าเชื้อเป็นประจำ ส่งผลให้ยีสต์กลับเพิ่มปริมาณมากขึ้น ทำให้เยื่อบุลำไส้รั่ว อาหารบางชนิดจึงถูกดูดซึมเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดอาการแพ้ได้

 

อาการที่อาจเกิดจากภูมิแพ้อาหารแฝง

  1. ระบบประสาท

  • ไมเกรน ปวดหัว อ่อนล้า

  • อารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล

  • สมาธิสั้น

  1. ระบบทางเดินหายใจ

  • จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ หอบหืด

  1. ระบบกล้ามเนื้อ

  • โรคไขข้อ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ

  1. ระบบทางเดินอาหาร

  • อาเจียน จุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ

  • ท้องผูก ท้องเสีย

  • ปัญหาการควบคุมน้ำหนัก

  1. ผิวหนัง

  • ลมพิษ ผิวหนังอักเสบ ภูมิแพ้

  • ผด ผื่นคัน

ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงกับ PANACEE ดีอย่างไร?

  1. ไม่ต้องงดน้ำและอาหารก่อนตรวจ
  2. สามารถตรวจหา IgG ในอาหารได้ถึง 222 ชนิดแบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม ดังนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม/ไข่, เนื้อสัตว์, ปลา/อาหารทะเล, ผัก, ผลไม้, ธัญพืช, สมุนไพร/เครื่องเทศ, ถั่ว และอื่นๆ
  3. วัดระดับ IgG รายงานผลเป็นตัวเลขที่บ่งบอกความเข้มข้นของแอนติบอดีชนิด IgG ที่ตรวจพบ
  4. ใช้การวิเคราะห์ด้วย Microarray ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูงมาก รวดเร็ว และใช้เลือดในปริมาณน้อย
  5. ได้รับคำแนะนำด้านโภชนาการและอาหารทดแทนจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ PANACEE

 

ผลการทดสอบแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ELEVATED , BORDERLINE , NORMAL

 สูง (ELEVATED) ร่างกายมีปฏิกิริยาต่ออาหารชนิดนั้น ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารชนิดนั้น

 ปานกลาง (BORDERLINE) ร่างกายมีภาวะเสี่ยงที่จะมีปฏิกิริยาต่ออาหารชนิดนั้น สามารถ

 ปกติ (NORMAL) ร่างกายไม่มีปฏิกริยาต่ออาหารชนิดนั้น สามารถรับประทานอาหารชนิดนั้นได้ตามปกติ

 

ต้องการนัดหมายปรึกษาแพทย์เบื้องต้น

คลิ๊กที่นี !