บำบัดอาการวัยทองและฮอร์โมน
“ดูอ่อนเยาว์อย่างยาวนานด้วยฮอร์โมนบำบัด”
ทั้งนี้ Anti-aging Medicine เป็นวิทยาการการแพทย์สมัยใหม่ที่ช่วยในการชะลอวัย โดยการรักษาระดับฮอร์โมนให้เท่ากับผู้ที่มีอายุ 20-30 ปี ฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกายมีดังนี้
ฮอร์โมนเพศหญิง (ESTROGEN)
- ทำให้เกิดความอ่อนเยาว์ มีผิวพรรณเนียนนุ่ม มีเต้านมเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นแม่ และช่วยในเรื่องความจำเสื่อม เต้านมจะช่วยผลิตน้ำนม และกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว ควบคุมการสร้างคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นตัวช่วยไม่ให้เกิดเมือกไขมันอุดตันในเส้นเลือด กระตุ้นให้เกิดประจำเดือน ทำให้มีการฝังตัวของตัวอ่อน สร้างน้ำเมือกในช่องคลอด และช่วยลดภาวะกระดูกพรุน หากเอสโตรเจนมีปริมาณลดลงหรือหมดไป ร่างกายจะเกิดอาการที่ตรงข้ามกับที่กล่าวมาทั้งหมด
ฮอร์โมนเพศชาย (TESTOSTERONE)
- ทำหน้าที่กำหนดความรู้สึกและอารมณ์ของเพศชาย กระตุ้นให้แสดงลักษณะความเป็นชายและความต้องการทางเพศ การสร้างเชื้ออสุจิ ปริมาณของขนเพชรและขนตามร่างกาย การสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก โดยสมองจะควบคุมการสร้างเทสโทสเตอร์โรนซึ่งผลิตจากลูกอัณฑะ ภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำหรือภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการต่างๆ ดังนี้
- ความต้องการทางเพศลดลง
- อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ไม่สมบูรณ์
- ปริมาณของตัวอสุจิมีจำนวนน้อย
- หน้าอกโตขึ้น
- ขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง อารมณ์เปลี่ยนแปลง และมีลูกอัณฑะที่เล็กลงด้วย
“ความบกพร่องทางการแข็งตัวขององคชาติ (Erectile Dysfunction : ED)
มีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับฮอร์โมนที่ลดลง”
ทั้งนี้ผู้หญิงก็มีฮอร์โมนเพศชาย (TESTOSTERONE) เช่นเดียวกันเพศชาย โดยฮอร์โมนเพศชายจะทำให้ผู้หญิงมีขน ที่สำคัญคือทำให้ผู้หญิงเกิดความต้องการทางเพศ ดังนั้นผู้หญิงที่อยู่ในวัยก่อนหมดประจำเดือนจะมีความต้องการทางเพศลดลง โดยแพทย์จะจัดฮอร์โมนเพศชายให้เป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อกระตุ้นการทำงานทางเพศหากต้องการ
Growth Hormone
เป็นฮอร์โมนที่ใช้ในการซ่อมแซมร่างกาย และเป็นตัวกำหนดความเป็นหนุ่มสาว โดยหลังจากอายุ 25 ปี ฮอร์โมนชนิดนี้จะไม่มีผลต่อร่างกาย โดยร่างกายจะร่วงโรยไปตามวัย การนอนหลับมีความสำคัญต่อการหลั่ง Growth Hormone เป็นอย่างมาก เพราะช่วงเวลาเที่ยงคืนถึงตีสาม ร่างกายจะหลั่ง Growth Hormone ในปริมาณมาก หากไม่สามารถนอนหลับได้ในช่วงเวลานี้ จะส่งผลต่อการซ่อมแซมร่างกาย ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยตามมา
ฮอร์โมน DHEA หรือ ดีไฮโดรอีพิแอนโดรสเตอโรน (Dehydroepiandrosterone)
เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไต ทำหน้าที่ควบคุมการผลิตฮอร์โมน 18 ตัวในร่างกาย ผลิตฮอร์โมนต้านความเครียด ช่วยลดระดับความดันในเลือด ลดระดับไขมันสะสม เสริมสร้างกระดูก ควบคุมน้ำหนัก เสริมสร้างการทำงานของสมอง เสริมภูมิคุ้มกัน ลดภูมิแพ้ และทำให้แผลหายเร็ว
ร่างกายจะเริ่มสร้าง DHEA ตั้งแต่อยู่ในครรภ์และจะมีมากที่สุดเมื่ออายุประมาณ 25 ปี หลังจากนั้นจะลดลงเรื่อยๆ โดยพบว่าเมื่ออายุ 65 ปี จะมีปริมาณเหลือเพียง 20% ของคนหนุ่มสาวอายุ 20 ปี
ฮอร์โมน DHEA เมื่ออยู่ในร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเพศชายและฮอร์โมนเพศหญิงได้ โดยใช้ทดแทนฮอร์โมนเพศที่ขาดหายไปทั้งในผู้หญิงและผู้ชายที่อยู่ในวัยทอง หรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการเสริมฮอร์โมน ซึ่งสามารถฟื้นคืนความตื่นตัวทางเพศได้อีกด้วย
ฮอร์โมน DHEA สำหรับผู้ชาย ถือเป็นดรรชนีบ่งชี้ถึงกำลังหรือน้ำมันที่ร่างกายเก็บไว้ในถัง และหากเมื่อใด DHEA ต่ำกว่าระดับปกติ จะก่อให้เกิดความเสี่ยงของภาวะหัวใจวาย
ไทรอยด์ (THIROID)
เป็นตัวควบคุม Metabolism ที่สำคัญของร่างกาย ช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกายและควบคุมสมาธิ ถ้ามีมากเรียกว่า ไฮเปอร์ (Hyper) ถ้ามีน้อยเรียกว่า ไฮโป (Hypo) จะทำให้ขี้เกียจ เบื่อและไม่อยากทำงาน เพราะร่างกายมีพลังงานน้อย เมื่อเรามีอายุมากขึ้นจะทำให้มีแนวโน้มที่จะเป็นไฮโปไทรอยด์ เนื่องจากต่อมไร้ท่อทุกต่อมมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ไทรอยด์จึงทำงานได้มีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงไปด้วย
สาเหตุของภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล
- - การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงวัยรุ่น หรือวัยใกล้หมดประจำเดือน (วัยทอง)
- - โรคเบาหวาน ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์หรือต่อมใต้สมอง (Pituitary) หรือความผิดปกติอื่นๆ
- - น้ำหนักเกินมาตรฐาน
- - ภาวะเครียด
- - การออกกำลังกายหนักเกินไป
- - ความผิดปกติจากการรับประทานอาหาร เช่น โรคเบื่ออาหาร (Anorexia nervosa) เป็นต้น
วัยทอง (Menopause)
วัยทอง เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน เพราะเป็นวัยที่รังไข่สร้างฮอร์โมนได้น้อยและไม่สม่ำเสมอ ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป จนถึงอายุ 50 ปีสามารถเกิดวัยทองได้ โดยเฉลี่ยคืออายุ 51 ปี ผู้ที่สูบบุหรี่จะเกิดวัยทองได้เร็วกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ และผู้ที่ตัดรังไข่สามารถเกิดวัยทองได้ทันทีหลังตัดรังไข่
เมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและเทสโทสเตอโรนลดลงจะทำให้เกิดอาการที่หลากหลาย ขึ้นกับแต่ละบุคคล ซึ่งอาการต่างๆ มีดังนี้
- ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
- ร้อนตามตัว โดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย โดยแก้ม คอ และหลังจะแดง หลังจากนั้นจะตามด้วยเหงื่อออกและหนาวสั่นในเวลากลางคืน อาการจะเกิดขึ้นประมาณ 1-5 นาที
- ปัญหาเกี่ยวกับช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากระดับเอสโตรเจนลดลง ทำให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งและบางลง บางรายจะมีอาการปวดขณะร่วมเพศ มีการติดเชื้อในช่องคลอดบ่อยขึ้น และไม่สามารถกั้นปัสสาวะได้ โดยปัสสาวะจะเล็ดขณะจามหรือไอ
- การคุมกำเนิด ควรคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 ปี หลังประจำเดือนครั้งสุดท้าย บางคนจะมีความรู้สึกทางเพศลดลง แต่บางรายมีความรู้สึกทางเพศสูงขึ้น
- มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ เช่น นอนหลับยาก ตื่นเร็ว หรือตื่นกลางคืนและมีเหงื่อออกมาก
- มีอารมณ์แปรปรวน โกรธง่าย
- มีการเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง โดยเอวจะเริ่มหายไป ไขมันที่เคยเกาะบริเวณขาจะเปลี่ยนไปเกาะบริเวณเอว กล้ามเนื้อมีปริมาณลดลง มีไขมันเพิ่มมากขึ้น และผิวหนังเริ่มเหี่ยว
- ปัญหาอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ ความจำลดลง ปวดตามตัว เป็นต้น
โรคของผู้ที่อยู่ในวัยทองมีมากมาย ได้แก่ โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน มะเร็งเต้านม เป็นต้น วิธีง่ายๆ สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง คือ การปรับพฤติกรรมทางด้านสุขภาพให้เหมาะสม โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีแคลเซียมสูง ลดอาหารจำพวกแป้ง เลี่ยงอาหารไขมันสูง เพิ่มอาหารที่มีเส้นใย เลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์ ควบคุมน้ำหนักตัว ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 20-30 นาที หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ตรวจร่างกายประจำปีตรวจภายใน เช่น มะเร็งปากมดลูกทุกปี และตรวจเต้านมตามคำแนะนำของแพทย์
สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง ควรใช้ยาหรือฮอร์โมนทดแทน ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด