ศูนย์กระดูกและข้อโดยไม่ต้องผ่าตัด

เซลล์กับข้อ : แก้ไขปัญหากระดูกที่เกิดจากอุบัติเหตุ ความชรา และการทำงานหนัก

ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกที่เกิดจากการประสบอุบัติเหตุ การทำงานหนักจนขาดการดูแลตนเอง และความเสื่อมของร่างกายตามอายุที่มากขึ้น ส่งผลให้บริเวณข้อต่อของกระดูกมีพังผืดขึ้นมายึดเกาะ กล้ามเนื้อจึงเกิดการล็อคเกร็ง ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งเป็นที่มาของอาการปวดข้อและปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

การรักษาโดยทั่วไป เช่น การใช้ยาลดอาการอักเสบ เป็นการรักษาที่ระงับอาการของโรค และอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ เช่น ยา NSAID จะมีผลข้างเคียงจากการเร่งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารตามมา

จะเห็นได้ว่าการรักษาโดยการใช้ยา สารเคมี หรือการทำกายภาพบำบัด มิได้เป็นการแก้ไขที่สาเหตุของโรค เพราะเป็นเพียงแค่การกดอาการของโรคเพื่อไม่ให้แสดงออกมา ทั้งยังอาจทำให้เกิดปัญหาโรคเรื้อรัง ที่ต้องใช้การรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

ทั้งนี้การดูแลรักษาด้วยเซลล์บำบัด (Cell Therapy) ซึ่งเป็นการใช้เซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ในการซ่อมแซมเซลล์กระดูกและข้อต่อที่เสื่อมสภาพ โดยการกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนส่วนที่สึกหรอ ซึ่งเป็นการรักษาที่ต้นเหตุที่นอกจากจะช่วยฟื้นฟูร่างกาย และช่วยฟื้นฟูกระดูกที่เกิดจากความเสื่อมแล้ว ยังช่วยฟื้นฟูอวัยวะทุกส่วนที่เกี่ยวข้องไปพร้อมๆ กันอีกด้วย

ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า การรักษาด้วยเซลล์บำบัด คือ การรักษาสุขภาพแบบองค์รวมที่จะคืนสุขภาพที่ดีทั้งระบบให้แก่ร่างกาย

ข้อดีของการรักษาโรคกระดูกและข้อด้วยการใช้เซลล์บำบัด

  1. ไม่ต้องผ่าตัด
  2. สะดวก รวดเร็ว ใช้เวลาในการรักษาน้อย
  3. ใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่า (แนะนำให้ลดการใช้งานของข้อต่อบริเวณที่ทำการรักษาประมาณ 1-2 วัน)
  4. ไม่ต้องรับประทานยา ซึ่งมีผลข้างเคียง
  5. ผลการรักษายั่งยืนกว่า เนื่องจากเซลล์ในร่างกายบริเวณข้อต่อและระบบต่างๆ มีความแข็งแรงขึ้น
  6. ค่าใช้จ่ายโดยรวมในระยะยาวต่ำกว่าการรักษาโดยทั่วไป
  7. โอกาสกลับมาเป็นซ้ำน้อย หากทำตามคำแนะนำของแพทย์เรื่องการปรับปัจจัยภายนอก เช่น ปรับท่านั่ง, ท่ายืนให้ถูกต้อง และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

ปัญหาเรื่องกระดูกและข้อที่สามารถดูแลได้ด้วยการใช้เซลล์บำบัด

  • โรคข้อเสื่อม (Osteoarthtritis) เช่น ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม
  • Office Syndrome เช่น อาการปวดคอ ไหล่ หลังจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน หรือการนั่งเก้าอี้และโต๊ะที่ไม่สะดวกสบาย
  • โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel syndrome)
  • อาการบาดเจ็บเรื้อรังที่กระดูกและข้อจากอุบัติเหตุ เช่น Tennis Elbow, ข้อเท้าแพลง
  • ข้ออักเสบอื่นๆ เช่น รูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)

ผู้ที่สนใจสามารถตรวจร่างกายและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของพานาซี เมดิคอล เซ็นเตอร์ พร้อมทั้งนำ Film X-rays (ถ้ามี) มาให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประเมินอาการ เพื่อจัดโปรแกรมการรักษาในลำดับต่อไป

ต้องการนัดหมายปรึกษาแพทย์เบื้องต้น

คลิ๊กที่นี !